วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รักแรกที่แม่แจ่ม ชมลายผ้าทอมือ เมืองแจ่ม(ต่อครับ)

 การได้ท่องเที่ยวไปนอกจากจะมีความสุข ยังมีอื่นๆอีกมากมาย รอบนี้ผมไปแม่แจ่ม มีภาพมากมายที่ถ่ายไว้กลัวว่าสูญหายหรือไปเผลอกดทิ้ง เสียดายและอยากให้หลายท่านที่สนใจมาดูม ชื่นมเ่นเดียวกันกับผม ท่านยังไม่ได้ไปเที่ยวไปแอ่วลองไปสักครั้งนะครับถึงทางจะลำบากแต่กดีกว่าสมัยก่อนมาก รถสมัยนี้ดีและแรงไปได้หมด ขออย่าประมาทไปได้ครับสบายๆ  ผ้าเหล่านี้ในเมืองก็มีที่เขารับมาขาย แต่ถ้าไปถึงที่แล้วท่านจะประทับใจว่าผ้าตีนจกแม่แจ่มนี้ของมันมีชิ้นเดียว ทำมาจากมือชาวบ้านแม่แจ่มที่สืบทอดกันมา ผมยังไม่กล้าต่อราคาเลยครับ

 และเพื่อการโหลดภาพที่ไว รวดเร็จ จึงขอโพสต์แบบขนาดเล็ก นะครับ









ผู้เขียนกับกวงอุปกรณืปั่นแท่งฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายครับ

มุมที่ชอบอีกมุมหนึ่งหมอนผ้าทอมือ

อุปกรณืตกแต่งช่างสรรหามาครับ ของพื้นบ้านหาดูยากสมัยนี้

คำเมืองว่าเตาใฟ ห้องครัว

ตาชั่งที่ยังพอมีใช้อยู่สมัยนี้

ผู้เขียนกับเจ้าของบ้านวันนี้น้องนางบอกว่าใส่ผ้าทอมือของพี่น้องปากะญอ(ยาง ตามภาษาถิ่นเรียกกัน)

นำ้ดื่มมีกันทุกบ้านทุกวัดอีกหน่อยความเจริญมาถึงก็งเหลือแต่สัญญลักษ์เหมือนบ้านเราที่เดกกินดื่มน้ำจากเชเว่น

เจ้าของบ้าน เพื่อนผู้เขียนหมอแสงวรรณ์เชียงของที่นำเที่ยวทุกจุดทุกวัดที่แนะนำของแม่แจ่ม










วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ผ้าซิ่นตีนจก...ผ้าทอตีนจก....หนึ่งเดียวในโลก..

ด้ายย้อมสีเตรียมไว้ทอ
ผ้าตีนจกแม่แจ่ม เป็นผ้าที่ชาวไทยยวนทอขึ้นมาเพื่อใช้นุ่งในโอกาสพิเศษนอกเหนือจากผ้าซิ่น
ที่ชาวบ้านใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน โอกาสเหล่านั้นได้แก่การไปทำบุญที่วัด  งานประเพณีต่างๆ ของชุมชน และวันสำคัญของครอบครัว เป็นต้น โดยที่สภาพหมู่บ้านของ แม่แจ่มมีกลุ่มช่างทอผ้าที่เข้มแข็งทำการทอผ้าสืบต่อกันมามีจำนวนมากพอสมควร เช่น ที่บ้านท้องฝาย บ้านทัพ บ้านไร่ เกือบทุกบ้าน จะมีเครื่องมือทอผ้า คือ หูกอยู่ใต้ถุนบ้าน และผลงานของผ้าตีนจกที่ทอออกมาก็มีความงดงามด้วยลวดลายและสีสันไม่ซ้ำใคร

นางชุติมา กรรณิกา แม่หลวงบ้าน ประธานกลุ่มอนุรักษ์ นักวิจัย ที่ทั้งขยัน เก่ง แม่ค้านักการตลาด มีจิตใจเสียสละดูจากใบประกาศนียบัตรเต็มฝา


แค่หลอดกระสวยด้ายก็นำมาแต่งสวยได้


กี่ทอผ้า

ด้ายย้อมสีจากเปลือกไม้

แขวนไว้จนดูดี


ย้อมสีคราม


ที่บอกว่าทอกลับด้าน เป็นเอกลักษณ์ของการทอที่นี่

ดอกฝ้ายที่เตรียมปั่นเป็นเส้น

เปลือกไม้ดู่ที่นำมาทำสีเช่นกัน

ต้มเอาไขมันออกจากผ้าให้สีย้อมเข้าถึงเนื้อผ้้า

ป้าผู้อาสามาเป็นนางเอกบรรยายกิจกรรม ใจดีมากๆ

ต้นครามและดอกครามที่เอามาย้อมผ้าสีธรรมาติ

ยายบอกว่าปลูกยากเหมือนมันชอบดินที่ชุ่มน้ำ


มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา
อำเภอแม่แจ่มถือได้ว่าเป็นชุมชนหนึ่งที่มีการทอผ้าซิ่น ตีนจกกันมากที่สุด ผ้าทอของแม่แจ่มมีเอกลักษณ์ในการทอหรือจกในลักษณะการคว่ำลาย ทำให้ลวดลายที่ได้สวยงาม ปราณีตเฉพาะแบบไม่เหมือนใคร ผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่มยังถือเป็นศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นล้านนาที่สืบทอดเป็นมรดก ทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการทอผ้าตีนจกถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นอย่างชัดเจนที่สุด นับตั้งแต่ที่ผู้หญิงแม่แจ่มเริ่มเรียนรู้วิธีการทอผ้าในวัยสาว จนกระทั่งถึงวัยแก่ชีวิตของพวกเขาก็ยังมีการทอผ้าอยู่เสมอ ที่เห็นได้ชัดเมื่อ
ยายนำหลานมาฝึกเรียนรู้ด้วย
 เวลามีงานบุญสำคัญต่าง ๆ ชาวแม่แจ่มก็จะนำผ้าตีนจกที่ทอเก็บไว้ออกมานุ่งกัน ผ้าตีนจกถือได้ว่าเป็น
ของสำคัญที่ลูกสะใภ้นำไปไหว้แม่สามีตอนแต่งงาน นอกจากนั้นผ้าตีนจกยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต
ของผู้หญิงชาวแม่แจ่ม ตั้งแต่เกิดจนตาย 
  โดยที่มีลายใช้ประจำอยู่หลายลาย และมีลายประยุกต์หรือยืมมาจากที่อื่นบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดาของ
การถ่ายเทรูปแบบกันและกันบ้าง ตามสมัยนิยม ทั้งราคาที่เสนอขายก็มีความเหมาะสมต่อการซื้อไปใช้ 
หรือฝากให้ญาติพี่น้อง จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือน แม่แจ่มอยู่เสมอมา