ด้ายย้อมสีเตรียมไว้ทอ |
ผ้าตีนจกแม่แจ่ม เป็นผ้าที่ชาวไทยยวนทอขึ้นมาเพื่อใช้นุ่งในโอกาสพิเศษนอกเหนือจากผ้าซิ่น
ที่ชาวบ้านใช้นุ่งในชีวิตประจำวัน โอกาสเหล่านั้นได้แก่การไปทำบุญที่วัด งานประเพณีต่างๆ ของชุมชน และวันสำคัญของครอบครัว เป็นต้น โดยที่สภาพหมู่บ้านของ แม่แจ่มมีกลุ่มช่างทอผ้าที่เข้มแข็งทำการทอผ้าสืบต่อกันมามีจำนวนมากพอสมควร เช่น ที่บ้านท้องฝาย บ้านทัพ บ้านไร่ เกือบทุกบ้าน จะมีเครื่องมือทอผ้า คือ หูกอยู่ใต้ถุนบ้าน และผลงานของผ้าตีนจกที่ทอออกมาก็มีความงดงามด้วยลวดลายและสีสันไม่ซ้ำใคร
นางชุติมา กรรณิกา แม่หลวงบ้าน ประธานกลุ่มอนุรักษ์ นักวิจัย ที่ทั้งขยัน เก่ง แม่ค้านักการตลาด มีจิตใจเสียสละดูจากใบประกาศนียบัตรเต็มฝา |
แค่หลอดกระสวยด้ายก็นำมาแต่งสวยได้ |
กี่ทอผ้า |
ด้ายย้อมสีจากเปลือกไม้ |
แขวนไว้จนดูดี |
ย้อมสีคราม |
ที่บอกว่าทอกลับด้าน เป็นเอกลักษณ์ของการทอที่นี่ |
ดอกฝ้ายที่เตรียมปั่นเป็นเส้น |
เปลือกไม้ดู่ที่นำมาทำสีเช่นกัน |
ต้มเอาไขมันออกจากผ้าให้สีย้อมเข้าถึงเนื้อผ้้า |
ป้าผู้อาสามาเป็นนางเอกบรรยายกิจกรรม ใจดีมากๆ |
ต้นครามและดอกครามที่เอามาย้อมผ้าสีธรรมาติ |
ยายบอกว่าปลูกยากเหมือนมันชอบดินที่ชุ่มน้ำ |
มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นไม่ให้สูญหายตามกาลเวลา |
ยายนำหลานมาฝึกเรียนรู้ด้วย |
ของสำคัญที่ลูกสะใภ้นำไปไหว้แม่สามีตอนแต่งงาน นอกจากนั้นผ้าตีนจกยังเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต
ของผู้หญิงชาวแม่แจ่ม ตั้งแต่เกิดจนตาย
โดยที่มีลายใช้ประจำอยู่หลายลาย และมีลายประยุกต์หรือยืมมาจากที่อื่นบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดาของ
การถ่ายเทรูปแบบกันและกันบ้าง ตามสมัยนิยม ทั้งราคาที่เสนอขายก็มีความเหมาะสมต่อการซื้อไปใช้
หรือฝากให้ญาติพี่น้อง จึงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือน แม่แจ่มอยู่เสมอมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น